ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ดิเรก ชัยนาม

ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม (18 มกราคม พ.ศ. 2447 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว กรุงลอนดอน และกรุงบอนน์รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับการเสนอชื่อจากนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง และเคยได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลไทย ต่อองค์การยูเนสโกให้ประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญแห่งโลก แต่ไม่ได้รับพิจารณาเนื่องจากข้อเสนอของรัฐบาลไทยไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการพิจารณา

ดิเรก ชัยนาม เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2447 ปีมะโรง เป็นบุตรชายของพระยาอุภัยพิพากษา (เกลื่อน ชัยนาม) อดีตข้าราชการตุลาการเมืองพิษณุโลก และคุณหญิงอุภัยพิพากษา (จันทน์ ชัยนาม) สมัยที่ยังเป็นเด็กสุขภาพไม่แข็งแรง จนกระทั่งทางครอบครัวได้มายกถวายให้เป็นลูกของพระพุทธชินราช พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกและประเทศไทย สุขภาพจึงกลับมาแข็งแรงเป็นที่น่าพอใจ

ดิเรกศึกษาเล่าเรียนในระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 โดยเริ่มต้นเป็นนักเรียนประจำ และออกมาเป็นนักเรียนไปกลับใน 2 ปีสุดท้าย จากนั้นได้ย้ายมาเรียนชั้นมัธยม 8 ที่ โรงเรียนราชวิทยาลัย(ปัจจุบัน คือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์)และมาเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายจนจบการศึกษาเป็นเนติบัณฑิต ใน ปี พ.ศ. 2471

ดิเรกสมรสกับ ม.ล.ปุ๋ย (นพวงศ์) ชัยนาม ดิเรกถึงแก่กรรมเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 เมื่ออายุ 63 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ส่วน ม.ล.ปุ๋ย ชัยนาม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2541 รวมอายุ 94 ปี

ดิเรกขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลังจากที่สหประชาชาติก่อตั้ง 1 ปี โดยชี้แจงเหตุผลการสมัครเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ดังนี้

ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 คณะเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพร้อมด้วยผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ได้ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทย คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่นายกรัฐมนตรีไม่อยู่ เนื่องจากไปตรวจดูสถานการณ์ชายแดนอรัญประเทศ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รองนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ออกมารับแทน

เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นแจ้งว่า ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และได้ตัดสินใจส่งกำลังทหาร เข้าโจมตีดินแดนของทั้งสองประเทศ ใน 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลา 01.00 ดินแดนบางส่วนที่ญี่ปุ่นจะบุกเข้า ต้องอาศัยผ่านดินแดนของไทย ฉะนั้นญี่ปุ่นจึงใคร่จะขออนุญาตจากรัฐบาลไทย ให้ญี่ปุ่นส่งกำลังบำรุงผ่านดินแดนประเทศไทย เพื่อดำเนินการศึกต่อฝ่ายอังกฤษ โดยขอให้รัฐบาลตอบภายใน 4 ชั่วโมง

ซึ่งดิเรกกล่าวว่า "การที่จะอนุญาตหรือไม่นั้นข้าพเจ้าไม่มีอำนาจแต่อย่างใด เพราะท่านก็ทราบดีแล้วว่า ข้าพเจ้าเป็นเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อำนาจสั่งไม่ให้ต่อสู้นั้นคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่ง ... ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ประกาศเป็นคำสั่งประจำไว้แล้วว่า ไม่ว่ากองทหารประเทศใด ถ้าเข้ามาแผ่นดินไทย ให้ต่อต้านอย่างเต็มที่ ฉะนั้นผู้ที่จะยกเลิกคำสั่งนี้คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด" แต่ขณะนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด กำลังตรวจราชการอยู่ที่ชายแดนภาคตะวันออก ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง สงครามกับมหามิตรที่กลายเป็นผู้รุกรานเพียงข้ามคืน ก็มิอาจเลี่ยงได้

ทางคณะรัฐมนตรีได้พิจารณากันถึงผลดีผลเสียหากต่อสู้กับญี่ปุ่น ในที่สุดนายกรัฐมนตรีได้ลงความเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะต่อต้านเพราะไทยไม่มีกำลังพอ อังกฤษและสหรัฐฯ ก็ไม่มีทางที่จะมาช่วยเหลือไทยได้ ขืนสู้ญี่ปุ่นไปประเทศไทยก็จะเสียหายอย่างหนัก คณะรัฐมนตรีจึงสั่งให้หยุดยิงเพื่อเจรจากับญี่ปุ่น ฝ่ายญี่ปุ่นได้เสนอทางเลือกให้ไทย 4 แผน ดังนี้

คณะรัฐมนตรีความเห็นแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย ดิเรกเสนอว่า โดยที่ประเทศไทยได้ยืนยันจะรักษาความเป็นกลางตลอดมา หากจำเป็นต้องยอมให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่น อย่างมากก็ควรจะยอมเพียงให้กำลังทหารญี่ปุ่นผ่าน ตามแผนที่ 3 เท่านั้น ถ้ายอม มากกว่านั้น โลกอาจจะมองไทยว่า ทั้งๆ ที่ประกาศจะเป็นกลาง ความจริงแล้วสมคบกับญี่ปุ่น ตลอดมามิใช่ ต้องยอมเพราะสู้ไม่ไหว พล.ต.อ. อดุล และ ปรีดี พนมยงค์ สนับสนุนดิเรก ในที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นว่า แผนที่ 3 เหมาะสมที่สุด จึงได้นำข้อตกลงไปเสนอแจ้งแก่ญี่ปุ่น และมีการลงนามในข้อตกลงที่ไทย ยินยอมให้ญี่ปุ่นส่งกำลังทหารผ่านประเทศไทย ประเทศไทยจึงประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2485

ในภายหลังดิเรกได้เขียนหนังสืออธิบายถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอธิบายให้เห็นภาพเหตุการณ์ บุคคลแวดล้อม ชั้นเชิงทางการทูต กุศโลบายทางการเมือง กลวิธีทางการทหารของประเทศที่ร่วมในสงคราม ตลอดจนวิธีคลี่คลายปัญหาต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งร่วมอยู่ในเหตุการณ์ ให้รอดพ้นมหาภัยในครั้งนั้น ในหนังสือ ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2

"ขบวนการเสรีไทย" รวมตัวกันเป็นขบวนการได้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2487 ถึงต้นปี พ.ศ. 2488 พร้อม ๆ กับที่ฝ่ายอักษะเริ่มพ่ายแพ้ในยุโรปไล่ไปตั้งแต่การที่เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อสหภาพโซเวียต ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2487 ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยกพลขึ้นบกที่บริเวณชายฝั่งนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสจากการยึดครองของนาซีเยอรมนีได้ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 นาซีเยอรมนีเริ่มประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิสำคัญหลายจุด ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้ามาหนุนช่วยในภาคพื้นเอเชียได้เต็มที่ แต่กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นที่ยึดครองภาคพื้นเอเชียบูรพา ก็ไม่ได้แสดงท่าทีที่จะยอมแพ้แต่อย่างใด ดังนั้นปฏิบัติการปลดอาวุธทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 จึงเกิดขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นสืบทราบว่าทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน ได้ทำงานช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร นั่นก็เหมือนเป็นสัญญาณเตือนขบวนการเสรีไทยว่า การที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้มิได้ง่ายดายเหมือนอย่างที่ใครบางคนคิด เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการเสรีไทยขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 โดยมีปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า และ ดิเรก ชัยนาม เป็นหัวหน้ากองกลาง

ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนามได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2497 และเป็นลำดับที่ 5 ของผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางคณะได้สร้างอนุสาวรีย์รูปของท่านไว้เป็นที่ระลึกในบริเวณคณะ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301